ศูนย์บริการศุลกากร
Customs Care Center
 

เมนูหลัก

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 34 เข้าชมวันนี้
  • 1,485 เข้าชมเดือนนี้
  • 157,613 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ศูนย์บริการศุลกากร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1 กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา คลองเตย 10110
หมายเลขโทรศัพท์ 1164
email : 1164@customs.go.th

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง

วันที่ : 20 ธันวาคม 2559 17:13:27
จำนวนผู้เข้าชม : 104,008

คำถาม :

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง

คำตอบ :

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง

พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
ตามมาตรา 6 ได้กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือ ค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต มาตรา 9 ใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติ มีดังนี้

  1. ใบอนุญาตให้ทำ ให้มีอายุ 180 วันนับแต่วันออก
  2. ใบอนุญาตให้มี ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก
  3. ใบอนุญาตให้ใช้ ให้มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม
  4. ใบอนุญาตให้นำเข้า ให้มีอายุ 180 วันนับแต่วันออก
  5. ใบอนุญาตให้นำออก ให้มีอายุ 30 วัน นับแต่วันออก
  6. ใบอนุญาตให้ค้า ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก เว้นแต่ใบอนุญาตที่ออกให้เพื่อการซ่อมแซม โดยเฉพาะ ให้มีอายุห้าปี นับแต่วันออก
  7. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ให้มีอายุตลอดระยะเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตใช้สถานีตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นสถานีวิทยุคมนาคม
  8. ใบอนุญาตพนักงาน วิทยุคมนาคม ให้มีอายุ 5 ปี นับแต่วันออก
  9. ใบอนุญาตให้รับข่าววิทยุคมนาคมจากต่างประเทศเพื่อการโฆษณา ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก ผู้ได้รับใบอนุญาตตาม (1) (3) (4) (5) (6) หรือ (7) ให้ถือว่า ได้รับอนุญาต ให้มีเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง
เครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียงเป็นสินค้าที่ต้องมีขออนุญาตก่อนการนำเข้าและ/หรือส่งออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกใบอนุญาต คือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( สำนักงาน กสทช.) โดยรายชื่อสินค้าและพิกัดศุลกากรที่ต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าประกอบไปด้วย
ประเภท คำอธิบาย พิกัดศุลกากร
Radio modemเครื่องรับ-ส่งข้อมูลที่มีการใช้คลื่นความถี่เป็นสื่อกลาง8517.62.92
Base stationเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้กับสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่8517.61.00
Cellular repeaterเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ทวนสถานีวิทยุของสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่8517.62.59
Microwave linkเครื่องเชื่อมโยงสัญญาณข้อมูลโดยใช้คลื่นความถี่8517.62.59
Antenna diskจานสายอากาศรับสัญญาณผ่านดาวเทียม8529.10.21
8529.10.29
Antennaสายอากาศของเครื่องวิทยุคมนาคม8517.70.40 
8529.10.92
UHF/FM transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ UHF8517.62.59
VHM/FM transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ VHF8517.62.59
VHF/FM CB transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ VHF (ใช้ในกิจการความถี่ประชาชน)8517.62.59
VHM/FM Amature Transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ VHF (ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น)8517.62.59
VHM/FM Marine Transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ VHF (ใช้ในกิจการทางทะเล)8517.62.59
HF /MF Transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ HF /MF8517.62.59
HF /MF Marine Transceiverเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ HF /MF (ใช้ในกิจการทางทะเล)8517.62.59
Broadcast Transmitterเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง8225.50.00
Radar Tankerเครื่องวัดระดับของเหลวในถัง8256.10.90
Radar (ship)เครื่องเรดาร์ที่ใช้ในเรือ8526.10.10
Radar (Air Craft)เครื่องเรดาร์ที่ใช้ในอากาศยาน8526.91.00
SARTเครื่องแจ้งตำแหน่งฉุกเฉินเพื่อการค้นหาที่ใช้ในกิจการทะเล8526.91.90
Receiver /Transmitterเครื่องรับและเครื่องส่งวิทยุ8517.62.51 
8517.62.53
8517.62.59
8517.62.61
8517.62.69
8517.62.91
8517.62.92
8517.62.99
8517.69.00
Short Range Deviceเครื่องวิทยุคมนาคมสื่อสารระยะใกล้8517.62.10
8517.62.21
8517.62.29
8517.62.41
8517.62.51
8517.62.52
8517.62.53
8517.62.59
8517.62.61
8517.62.69
8517.62.91
EPIRBเครื่องแจ้งตำแหน่งฉุกเฉินที่ใช้ในกิจการทะเล8526.91.90
SSPAเครื่องขยายกำลังส่งวิทยุ ที่ใช้กับสถานีดาวเทียม8517.62.69
RF Amp. TWTเครื่องขยายกำลังส่งวิทยุ ที่ใช้กับสถานีดาวเทียม8517.62.69
Cordless Telephoneโทรศัพท์ไร้สาย8517.12.00
IRDเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม8528.71.11 
8528.71.19
Wireless Microphoneไมโครโฟนไร้สาย8518.10.11 
8518.10.19
RFIDเครื่องอ่าน RFID8517.62.99
Radio Controlวิทยุบังคับสิ่งประดิษฐ์จำลอง8526.92.00
Cellular Mobileโทรศัพท์เคลื่อนที่8517.12.00
GPS Trackingระบบติดตามรถยนต์ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่8526.91.90
GMPCSโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม GMPCS8517.12.00
Transceiver (2.4 -2.5 GHz)เครื่องวิทยุคมนาคมย่านความถี่ 2.4 -2.5 GHz8517.62.51
Transceiver (5 GHz)เครื่องวิทยุคมนาคมย่านความถี่  5 GHz8517.62.51
Video Senderเครื่องส่งสัญญาณภาพและเสียง8517.62.69 
8525.50.00 
8525.50
FM Transmitterเครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่ 88-108 MHz8525.50.00
Low Noise Block Feed horn (LNBF)อุปกรณ์สายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม8543.70.90
Television Transmitterเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์8525.50.00
Tracking Receiverเครื่องวัดความแรงสัญญาณดาวเทียม9031.80.90
Block up Converter include power amplifierเครื่องแปลงความถี่ต่ำเป็นความถี่สูง ที่มีภาคขยายกำลังส่งรวมอยู่ด้วย8543.70.90
Transceiver Unitเครื่องรับส่งวิทยุสำหรับสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่8517.62.59
ATC : Air Traffic Controlเครื่องควบคุมการจลาจลทางอากาศ8526.91.10
TCAS : Traffic Collision Alerting Systemเครื่องป้องกันการชนกันของอากาศยาน8526.91.10
AIS : Automatic Identification Systemเครื่องรับส่งข้อมูลสำหรับเรือ8526.91.10
DME : Distance Measuring Equipmentเครื่องบอกระยะทางสำหรับอากาศยาน8526.91.10
ALT : Altimeterเครื่องวัดระดับความสูงสำหรับอากาศยาน8526.10.10
ELT : Emergency Locator Transmittersเครื่องแจ้งตำแหน่งฉุกเฉิน8526.91.10
Vehicle Radarเครื่องเรดาร์สำหรับติดตั้งในรถยนต์8526.10.10
ที่มา : หนังสือสำนักงาน กสทช. ที่ สทช. 5013/23431 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2556
*กล่องแปลงสัญญาณ (Set-Top Box) ผู้จัดทำได้ทำการเพิ่มเติมขึ้น โดยอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต ให้ ผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือ มีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้ง เครื่องรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก พ.ศ. 2555

เครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง/กล่องแปลงสัญญาณ(Set-Top Box)
กล่องแปลงสัญญาณ (Set-Top Box) เป็นกล่องที่จะแปลงสัญญาณดิจิตอล ให้โทรทัศน์แบบดั้งเดิมสามารถรับสัญญาณ ภาพ และ เสียง ให้สามารถรับชมรายการที่ส่งมาเป็นระบบดิจิตอลได้ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ผลิตนำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายหรือรับติดตั้งเครื่องรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก พ.ศ. 2555 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. หลักการของประกาศ
  2. ผู้ใดประสงค์จะผลิต นำเข้า จำหน่าย มีไว้ เพื่อจำหน่าย หรือ รับติดตั้งเครื่องรับ เครื่องมือหรือ อุปกรณ์ให้ยื่นคำขออนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศฯ โดยผู้ขอรับอนุญาตต้องแจ้งประเภทการขออนุญาตให้ชัดเจน ในกรณีที่เครื่องรับ เครื่องมือหรืออุปกรณ์เป็นเครื่องวิทยุคมนาคม ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมด้วย

  3. การยื่นขอรับอนุญาต
  4. ให้ดำเนินการยื่นแบบคำขออนุญาตที่กรอกข้อมูลครบถ้วนและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาอนุญาต ณ สำนักงาน กสทช. ด้วยตนเอง หรือ มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยต้องมีเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาอนุญาต ดังต่อไปนี้
    1. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผู้ขอรับอนุญาต
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      • สำเนาทะเบียนพาณิชย์
      • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและหนังสือบริคณฑ์สนธิที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบออกให้ไม่เกินระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะต้องมีรายชื่อบุคคลที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ การผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือ มีไว้เพื่อจำหน่ายหรือรับติดตั้งเครื่องรับ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ฯ
    2. เอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาอนุญาต
      • แคตตาล็อก (Catalog) ข้อกำหนดทางวิชาการ (Technical Specification) และ มาตรการการนำเข้าแบบมีเงื่อนไข (CA) ที่ใช้
      • เอกสารรับรองมาตรฐานทางวิชาการของเครื่องรับ เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ดังกล่าว
      • กรณีการขออนุญาตผลิตจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการอุปกรณ์ย่อยที่จะนำมาผลิตด้วย
      • กรณีการขออนุญาตนำเข้า ให้ยื่นใบกำกับสินค้า (Proforma Invoice) หรือใบสั่งซื้อด้วย
      • กรณีการขออนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายหรือรับติดตั้งให้ยื่นบัญชีแสดงรายการและจำนวนเครื่องรับ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ และสถานที่ตั้งหรือสถานที่เก็บรักษา
      • เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
    3. ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต
      • กรณีที่เอกสารสมบูรณ์ครบถ้วน และเครื่องมือ เครื่องรับ อุปกรณ์ฯเป็นไปตามมาตรฐานตามที่คณะกรรมการกำหนด จะได้รับการอนุญาตและแจ้งให้ผู้ขอรับอนุญาตชำระค่าธรรมเนียม
      • กรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วน จะได้รับแจ้งให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมซึ่งผู้ขอรับอนุญาตต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนดคณะกรรมการฯ จะไม่พิจารณาคำขออนุญาตดังกล่าว
      • หากไม่ได้รับการอนุญาต จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 10 วัน หลังจากการพิจารณาแล้วเสร็จ
      • การพิจารณาอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้ง เครืองมือ เครื่องรับ หรืออุปกรณ์ที่มีตราอักษร แบบ หรือ รุ่น ที่มีคุณสมบัติตามที่ สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบ/พิจารณาอนุญาตไว้แล้วจะดำเนินการพิจารณาอนุญาตแบบอัตโนมัติ ( Automatic License ) ซึ่งหากเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง จะพิจารณาอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต
    4. ค่าธรรมเนียมการอนุญาต
      • ผลิตหรือนำเข้า คราวละ 10 บาทต่อเครื่อง
      • จำหน่าย คราวละ 5,000 บาท
      • มีเพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้ง คราวละ 1,000 บาท
      • ใบแทนการอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
    5. ระยะเวลาการอนุญาต
      • อนุญาตให้นำเข้า 180 วัน
      • การอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย มีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้ง

การกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการรับชมกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลและเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดอุปสรรคในการรับชมกิจการโทรทัศน์ดังกล่าว จึงกำหนดให้
  1. อุปกรณ์แปลงสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Set-Top-Box) ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต มี ใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม แต่ไม่ได้รับยกเว้นใบอนุญาตให้ ทำนำเข้า นำออก หรือ ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. ให้สถานีรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อการรับชมโดยเฉพาะ ซึ่งมิได้มีการนำสัญญาณไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการนำเข้าวิทยุคมนาคม ลงวันที่ 15 มีนาคม 2554 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม โดยมีวัตถุประสงค์
    • นำเข้าเพื่อสำรองจำหน่าย
    • นำเข้าเพื่อส่งมอบ
    • นำเข้าเพื่อเป็นตัวอย่างในการประกวดราคา หรือ นำมาสาธิต
    • นำเข้าเพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
    • นำเข้าเพื่อการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคม
    • นำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ซึ่งคณะกรรมการเห็นชอบให้นำเข้าได้
    โดยผู้ที่จะนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ตามวัตถุประสงค์ ข้อ (1) (2) และ (5) ต้องเป็นผู้ได้รับ ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคมก่อนยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและ เครื่องวิทยุคมนาคมที่จะนำเข้าตามวัตถุประสงค์ในข้อ (1) (2) และ (4) ต้องเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม ที่มีเอกสารรับรองมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคม หรือเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมทีมี ตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน จากสำนักงานฯ
  2. การนำเข้าเพื่อสำรองจำหน่าย
  3. ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นขออนุญาต ได้แก่
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์
    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบออกให้ไม่เกิน 3 เดือน
    • เอกสารชี้แจงรายการสินค้า (Catalog) หรือ ข้อกำหนดทางวิชาการ (Technical Specification)
    • ใบ invoice หรือ ใบสั่งซื้อ
  4. การนำเข้าเพื่อส่งมอบ
  5. ผู้ที่นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อส่งมอบให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจต้องยื่นขอรับใบอนุญาต ก่อนวันส่งของครบกำหนด ไม่น้อยกว่า 30 วัน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 2. และ เอกสารเพิ่มเติมได้แก่
    • หนังสือรับรองของส่วนราชการที่สั่งซื้อ
    • สำเนาสัญญาซื้อขาย หรือสำเนาใบสั่งซื้อของส่วนราชการ โดยแสดงรายละเอียดจำนวนของสินค้าครบถ้วน,เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ การได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เดิมหรือขอรับจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ของส่วนราชการ
  6. การนำเข้าเพื่อเป็นตัวอย่างในการประกวดราคา หรือนำมาสาธิต
  7. ผู้นำเข้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อนวันประกวดราคา หรือสาธิต ไม่น้อยกว่า 15 วัน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 2. และ เอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ หนังสือรับรองของหน่วยงาน ที่จัดการประกวดราคา หรือ สาธิต สำเนาสัญญาซื้อขาย หรือ สำเนาใบสั่งซื้อของส่วนราชการ โดยแสดง รายละเอียด จำนวนของสินค้าครบถ้วน, เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เดิมหรือขอรับจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ของส่วนราชการ และ ผู้นำเข้าจะต้องแจ้งกำหนดเวลาการนำเครื่องวิทยุออกนอกราชอาณาจักรให้คณะกรรมการทราบ และเมื่อครบเวลาที่จะนำออกให้ยื่นขอรับใบอนุญาตนำออกเครื่องวิทยุคมนาคม และ นำออกจากราชอาณาจักรโดยเร็ว
  8. นำเข้าเพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
  9. ในการยื่นคำขออนุญาตนั้น หน่วยงานของรัฐจะต้องทำหนังสือ ซึ่งมีข้อความแสดงว่าให้ผู้ยื่น คำขอดำเนินการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
    • รับรองให้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับการนำเข้าแต่ละครั้ง
    • รับรองให้นำเข้าเครื่องวิทยุโดยมีกำหนดระยะเวลา จนกว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีหนังสือแจ้งยกเลิก
  10. นำเข้าเพื่อการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคมจะต้องยื่นคำขอรับ ใบอนุญาตพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 2.

การนำออกเครื่องวิทยุคมนาคม
ตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การนำออกเครื่องวิทยุคมนาคม ลงวันที่ 15 มีนาคม 2554 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ยื่นแบบคำขอที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน และ แนบเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการอนุญาต ต่อ คณะกรรมการฯ โดยเครื่องวิทยุคมนาคม ที่นำออกจะต้องเป็นเครื่องฯ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะต้อง มีใบอนุญาต ทำ นำเข้า มี และใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. ผู้ประสงค์จะนำออกเครื่องวิทยุคมนาคม ให้ยื่นคำขอรับในอนุญาต พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
    1. สำเนาบัตรประชาชน
    2. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ หรือ หนังสือรับรองนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการนำออก วิทยุคมนาคมซึ่งออกให้โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ไม่เกินกำหนดระยะเวลา 3 เดือน
    3. เอกสารอื่นๆ ถ้ามี

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. คุณสมบัติผู้ยื่นคำขอ
  2. เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย หรือ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ในกรณีของ นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศหรือมีสถานที่ตั้งในต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนที่เป็น บุคคลหรือนิติบุคคลไทยเป็นผู้ยื่นคำขอซึ่งสำนักงานจะกำหนดรหัสประจำตัวของผู้ประกอบการ( Supplier Code ) สี่หลักให้กับ ผู้ยื่นคำขอ
  3. การจดทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
    1. ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนและเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภท ก ต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
      • แบบคำขอตามภาค ผนวก ก ของประกาศนี้
      • เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ตามข้อ 1 .
      • เอกสารแสดงคุณลักษณะทางเทคนิค หรือ ข้อกำหนดทางวิชาการ ของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
      • รายงานผลการทดสอบ ทีเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ เรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556
      • รูปถ่ายซึ่งแสดงให้เห็นเครื่องวิทยุคมนาคม ครบทุกด้าน ตราอักษร (brand name) และ แบบ/รุ่น (model)
    2. เอกสารประกอบการจดทะเบียนในข้อ 2.1 (3) และ (4) ต้อง ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด
    3. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนมี ดังนี้
      1. ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารดังกล่าวข้างต้น พร้อมชำระค่าใช้จ่าย
      2. สำนักงานจะแจ้งระยะเวลาในการดำเนินการจนแล้วเสร็จ โดนปกติ ไม่เกิน 3 วันทำการต่อหนึ่งคำขอ
    4. กรณีที่เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิคจะไม่รับจดทะเบียนและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และ ในกรณีที่เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์สอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิคสำนักงานจะรับจดทะเบียนและออกหมายเลขการจดทะเบียนฯ ให้กับผู้ยื่นคำขอ
  4. การรับรองเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
    1. ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนและเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภท ข ต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
      1. แบบคำขอตามภาค ผนวก ข ของประกาศนี้
      2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ตามข้อ 1 .
      3. เอกสารแสดงคุณลักษณะทางเทคนิค หรือ ข้อกำหนดทางวิชาการของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
      4. รายงานผลการทดสอบ ทีเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556
      5. รูปถ่ายซึ่งแสดงให้เห็นเครื่องวิทยุคมนาคม ครบทุกด้าน ตราอักษร (brand name) และ แบบ/รุ่น (model)
    2. เอกสารประกอบการจดทะเบียนในข้อ 3.1 (3) และ (4) ต้อง ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด
    3. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนมี ดังนี้
      1. ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารดังกล่าวข้างต้น พร้อมชำระค่าใช้จ่าย
      2. สำนักงานจะแจ้งระยะเวลาในการดำเนินการจนแล้วเสร็จ โดนปกติ ไม่เกิน 5 วันทำการต่อหนึ่งคำขอ
    4. กรณีที่เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิคจะไม่รับจดทะเบียนและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และ ในกรณีที่เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์สอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิคสำนักงานจะรับจดทะเบียนและออกหมายเลขการจดทะเบียนฯ ให้กับผู้ยื่นคำขอ
  5. การรับรองตนเองของผู้ประกอบการ
    1. ผู้ยื่นแบบรับรองตนเองของผู้ประกอบการ ต้องยื่นเอกสาร ต่อไปนี้
      1. แบบรับรองตนเองของผู้ประกอบการ ตามภาคผนวก ค ที่กรอกเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมสำเนา 1 ชุด
      2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ตามข้อ 1 .
      3. เอกสารหลักฐานซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผลิตภัณฑ์ รายละเอียดคุณสมบัติหรือลักษณะทางเทคนิคและข้อมูลการตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งอาจประกอบไปด้วยเอกสาร แสดงคุณลักษณะทางเทคนิค (catalogue) ข้อกำหนดทางวิชาการ (Technical specification ) รายงานผลการทดสอบ รายงานผลการรับรอง หรือ ใบรับรองแสดงความสอดคล้องตามมาตรฐาน ( certificate of conformity )
      4. รูปถ่ายซึ่งแสดงให้เห็นเครื่องวิทยุคมนาคม ครบทุกด้าน ตราอักษร (brand name) และ แบบ/รุ่น(model)
    2. เอกสารประกอบการจดทะเบียนในข้อ 3.1 (3) และ (4) ต้อง ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด

การกำหนดให้อุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ให้ถือว่า อุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องวิทยุคมนาคม
  1. สายอากาศ ( antenna) ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. เครื่องขยายกำลังส่ง ( RF Amplifier)ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม

เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2552 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. เครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบกิจการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือ ตามที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต หรือ ทำเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม หรือ อุปกรณ์ของ เครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อการส่งออก ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต นำเข้า และ มีซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. เครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ ผลิต หรือทำเพื่อการส่งออก โดยผู้ประกอบกิจการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือ ตามที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต หรือ ทำเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ของ เครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อการส่งออก ได้รับยกเว้น ไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ทำ มี และ นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว และมีการนำกลับเข้ามาเพื่อทำการแก้ไข ปรับปรุง หรือ ซ่อมแซมความบกพร่อง ชำรุด เสียหาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ทำ มี และ นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  3. เครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และเก็บไว้ในเขตปลอดอากรเพื่อการส่งออก ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต นำเข้า มี และ นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม

การกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมบางประเภทได้รับยกเว้น ไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
ตามกฎกระทรวง เรื่องกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2547 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีลักษณะหรือที่ใช้ในกิจการดังต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก และ ค้าซึ่งวิทยุคมนาคม
    1. ไมโครโฟนไร้สาย ความถี่วิทยุ 33-50 เมกะเฮิรตซ์ 88-108 เมกะเฮิรตซ์ 165-210 เมกะเฮิรตซ์ 470-490 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์ และความถี่วิทยุ 902-960 เมกะเฮิรตซ์กำลังส่งไม่เกิน 30 มิลลิวัตต์
    2. โทรศัพท์ไร้สาย ความถี่วิทยุ 1.6-1.8 เมกะเฮิรตซ์ 30-50 เมกะเฮิรตซ์ และ 45-50 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    3. เครื่องวิทยุคมนาคมควบคุมการทำงานระยะไกล ความถี่วิทยุ 26.965 -27.405 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์ และความถี่วิทยุ 30-50 เมกะเฮิรตซ์ และ 300-500 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    4. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้ความถี่สำหรับวิทยุประชาชน (Citizen Band) ความถี่วิทยุ 26.965 - 27.405 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์
    5. เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบสัญญาณเตือนภัยภายในบริเวณเฉพาะความถี่วิทยุ 300-500 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    6. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้กับเครื่องมือทางการแพทย์ ความถี่วิทยุ 300-500 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    7. เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
    8. เครื่องรับวิทยุที่ใช้ในกิจการวิทยุนำทาง (Radionavigation service ) วิทยุนำทางผ่านดาวเทียม(Radionavigation Satellite service) วิทยุหาตำแหน่ง (Radiolocation service) หรือวิทยุหาตำแหน่งผ่านดาวเทียม (Radiolocation ? Satellite service )
    9. เครื่องวิทยุคมนาคมระบบเรดาร์ (Radar Application) ความถี่วิทยุ 5.725 ? 5.875 กิกะเฮิรตซ์ 10-10.6 กิกะเฮิรตซ์ 24.05-24.25 กิกะเฮิรตซ์ และ 76-81 กิกะเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    10. เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ความถี่ต่ำกว่า 135 กิโลเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 150 มิลลิวัตต์
    11. เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ความถี่วิทยุ 13.553 ? 13.567 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P)ไม่เกิน 5 มิลลิวัตต์
    12. เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ความถี่วิทยุ 2400 ? 2500 เมกะเฮิรตซ์กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P)ไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์
  2. เครื่องวิทยุคมนาคมทีมีลักษณะ หรือที่ใช้ในกิจการดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต มี ใช้ และ นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
    1. เครื่องวิทยุคมนาคมลูกข่ายที่ใช้ในกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมสาธารณะหรือที่ใช้ในกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป ซึ่งใช้สถานีควบคุมกลางร่วมกัน
    2. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้ความถี่สำหรับวิทยุประชาชน (Citizen Band) ความถี่วิทยุ 26.965 -27.405 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งสูงกว่า 100 มิลลิวัตต์ แต่ไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์
    3. เครื่องส่งสัญญาณภาพหรือภาพและเสียง ความถี่วิทยุ 510-790 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10มิลลิวัตต์
    4. อุปกรณ์รับสัญญาณผ่านเดาวเทียม (TVRO) เพื่อการรับชมโดยเฉพาะซึ่งมิได้มีการนำสัญญาณไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
    5. อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ บอกรับเป็นสมาชิก
    6. เครื่องวิทยุควบคุมทำงานระยะไกล ความถี่วิทยุ 26.965 ? 27.405 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งสูงกว่า 100 มิลลิวัตต์ แต่ไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์
    7. โทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ในกิจการส่วนบุคคล ความถี่วิทยุ 1900 ? 1906 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์
    8. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้ความถี่สำหรับวิทยุประชาชน (Citizen Band) ย่านความถี่วิทยุ 78 เมกะเฮิรตซ์ และ 255 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์
  3. เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบรวงผึ้ง (Cellular) เครื่องวิทยุติดตามตัว(Radio Paging) หรือ เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบสื่อสารเคลื่อนที่ส่วนบุคคลรอบโลกผ่านดาวเทียม (GMPCS) ที่มี ตรา อักษร แบบ หรือ รุ่น ที่ได้ผ่านการรับรองตัวอย่างเครื่องวิทยุคมนาคม จากกรมไปรษณีย์ โทรเลข ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต มี นำเข้า นำออก และ ค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  4. เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบรวงผึ้ง (Cellular) เครื่องวิทยุติดตามตัว(Radio Paging) หรือ เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบสื่อสารเคลื่อนที่ส่วนบุคคลรอบโลกผ่านดาวเทียม (GMPCS) ที่เป็นเครื่องลูกข่ายของผู้ให้บริการในประเทศ และต่างประเทศได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตให้นำเข้า และนำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  5. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้ความถี่สำหรับวิทยุประชาชน (Citizen Band) ย่านความถี่วิทยุ 78 เมกะเฮิรตซ์ และ 245 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่งสูงกว่า 500 มิลลิวัตต์ที่ผู้มีหรือใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนั้น ได้รับความยินยอมให้มี หรือ ให้ใช้ จากผู้มีกรรมสิทธิ์ ที่ได้รับใบอนุญาตมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนั้นแล้ว ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์ เครื่องวิทยุนั้นไปให้บุคคลอื่น
  6. เครื่องวิทยุคมนาคม ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ที่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่น มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนั้น ได้รับความยินยอม ให้มี หรือ ให้ใช้ จากผู้มีกรรมสิทธิ์ ที่ได้รับใบอนุญาตมี และ ใช้เครื่อง วิทยุคมนาคม นั้นแล้วได้รับยกเว้น ไม่ต้องมีใบอนุญาต มี หรือ ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์ เครื่องวิทยุนั้นไปให้บุคคลอื่น
  7. อุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2536) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่ได้นำไปประกอบเข้าหรือใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตอยู่แล้ว ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตอีก

การนำเข้า มี และใช้เครื่องวิทยุ คมนาคม ในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การนำเข้า มี และ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น พ.ศ. 2548 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. กำหนดให้นำเข้า มี และ ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ทำงานได้เฉพาะ ในย่านความถี่ 144-146 MHz เท่านั้น และ ต้องไม่ดัดแปลง แก้ไข เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว โดยวิธีการตัดต่อ และ/หรือ เพิ่มเติมอุปกรณ์ใดๆ เพื่อให้เครื่องวิทยุคมนาคมสามารถส่งความถี่วิทยุนอกย่านความถี่วิทยุ 144-146 MHz
  2. สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ก่อนวันที่ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง การนำเข้า มี และ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น พ.ศ. 2537 จะสามารถใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะหมดอายุ

เครื่องวิทยุคมนาคม ประเภท Radio Frequency Identification : RFID
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification : RFID ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549 สามารถสรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ได้ดังนี้
  1. เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท RFID ชนิด อ่าน/เขียนซึ่งมีกำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิกไม่เกิน 0.5 วัตต์ ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับอนุญาต มี ใช้ และ นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และ ใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
  2. เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท RFID ชนิด ทรานสปอนเดอร์ หรือ แท็ก ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก และ ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม

การตรวจสอบและรับรองเครื่องวิทยุคมนาคม ประเภท RFID
  1. อุปกรณ์ RFID ประเภท ก (Class A) แบ่งได้เป็น
    1. RFID ที่ได้รับการยกเว้นใบอนุญาต ใช้หลักการรับรองตนเองของผู้ประกอบการ
    2. RFID ที่ไม่ได้รับการยกเว้นใบอนุญาต ใช้หลักการจดทะเบียน ต่อ กสทช.
  2. มาตรฐานต่างๆ ที่ใช้ตรวจสอบ
    1. มาตรฐานทางเทคนิค : กทช. มท. 1010-2550
    2. มาตรฐานด้านความปลอดภัย :
      1. ความปลอดภัยทางไฟฟ้า
      2. IEC 600950-1
      3. มอก. 1561-2548
    3. ความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต่อสุขภาพของมนุษย์:กทช. มท. 5001-2550

พนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ลงวันที่ 26 เมษายน 2555 ได้แต่งตั้งให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และพนักงานสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามตารางนี้ เป็นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตาม พรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (ยกมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การออกใบอนุญาต)
ลำดับที่ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่
1.
  • เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ภารกิจกระจายเสียงและ โทรทัศน์
  • ผู้อำนวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1
  • ผู้อำนวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 2
  • ผู้อำนวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3
ให้มีอำนาจอนุญาตและออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคม เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนี้
  1. ใบอนุญาตให้ทำเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. ใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  3. ใบอนุญาตให้นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  4. ใบอนุญาตให้รับข่าววิทยุคมนาคมจากต่างประเทศเพื่อการโฆษณา
  5. ใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม
  6. ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
  7. ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคม
  8. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
  9. ใบแทนใบอนุญาต ตามข้อ 1 ถึง 8
  10. การรับแจ้งความซึ่งใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม 1. - 9. สูญหาย หรือ ชำรุด


และ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 เพิ่มเติม ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 ได้แต่งตั้งให้ พนักงานสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามตารางนี้ เป็นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 เพิ่มเติม (ยกมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การออกใบอนุญาต) ดังนี้
ลำดับที่ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่
1. ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต
  1. พิจารณาออกใบอนุญาตใหม่ในกรณีที่ใบอนุญาตเดิม ดังต่อไปนี้ หมดอายุ
    1. ใบอนุญาตให้นำออกซึ่งเครื่องวิทยุุคมนาคม
    2. ใบอนุญาตให้รับข่าววิทยุคมนาคมจากต่างประเทศเพื่อการโฆษณา
    3. ใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม
    4. ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคม
  2. การออกใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม
  3. การรับแจ้งความซึ่งใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมสูญหาย
  4. การมีคำสั่ง .....

ประกาศที่เกี่ยวข้อง
  1. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
  2. ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต ให้ ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือ มีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้งเครื่องรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการ ของกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก พ.ศ. 2555
  3. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2556
  4. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การนำเข้าวิทยุคมนาคม ลงวันที่ 15 มีนาคม 2554
  5. ประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การนำออกเครื่องวิทยุคมนาคม ลงวันที่ 15 มีนาคม 2554
  6. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและ อุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2556
  7. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2551 เรื่องกำหนดให้ อุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคม เป็นเครื่องวิทยุคมนาคม
  8. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ของ เครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2552
  9. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคม บางประเภทได้รับยกเว้น ไม่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2547
  10. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การนำเข้า มี และ ใช้เครื่องวิทยุ คมนาคม ในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น พ.ศ. 2548
  11. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification : RFID ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549
  12. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555
  13. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 เพิ่มเติม ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 21 ธันวาคม 2559 09:27:02
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1
กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา แขวง คลองเตย เขต คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของศูนย์บริการศุลกากร
ลิขสิทธิ์ 2015 ศูนย์บริการศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ